DG Learning Portal
1. กรุณาคลิกลงทะเบียนที่ Digital ID
(หรือหากมีบัญชี Digital ID แล้วสามารถเข้าสู่ระบบได้ทันที)
2.ยืนยันอีเมล
(ท่านที่เป็นสมาชิกเดิมให้ใช้อีเมลเดิมในการยืนยัน)
คลิกเพื่อไปยัง Digital ID



ความท้าทายของผู้นำภาครัฐในยุค VUCA world (The Challenges of Government leaders in VUCA world)

ความท้าทายของผู้นำภาครัฐในยุค VUCA world (The Challenges of Government leaders in VUCA world) คำอธิบายหลักสูตร        ศึกษาเกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นในยุคดิจิทัลสมรรถนะที่ผู้นำจำเป็นต้องมีเพื่อการนำองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล แนวทางการทำงานในยุคดิจิทัล การบริหารคนในยุคดิจิทัลการบริหารและสร้างทีมเพื่อการทำงานร่วมกันในยุคดิจิทัล การสื่อสารสำหรับผู้นำเพื่อปรับเปลี่ยนสู่องค์กรยุคดิจิทัล กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงแล้วมีผลกระทบต่อองค์กร พร้อมมีแนวทางบริหารจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น 2.เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวทางในการพัฒนาตัวเอง ทีมงานและองค์กรให้เข้าสู่องค์กรยุคดิจิทัลได้ สามารถดำเนินภาระกิจในรูปแบบใหม่ต่อไปได้ 3.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ความเป็นผู้นำ (Leadership) ภายในตัวเองในรูปแบบต่างๆที่สอดคล้องกับสถานการณ์และเป้าหมายขององค์กรด้วยความเชื่อมั่น 4.เพื่อให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนตัวเองและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ทีมงานมีขวัญกำลังใจในการก้าวข้ามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยจิตวิทยาเชิงบวก 5.เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการบริหารจัดการโครงการด้านดิจิทัลได้ หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ ผู้นำปรับตัวสร้างการเปลี่ยนแปลง (Adaptive Leadership) การเรียนรู้และเข้าใจโลกยุค VUCA world (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) แนวความคิดเรื่อง “การเปลี่ยนแปลง” ความท้าทายของการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง การสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง รูปแบบความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล (VUCA Prime) การบริหารงานในสถานการณ์วิกฤต (Crisis Management) การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การสร้างความเข้าใจและพัฒนาสมรรถนะของทีมงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ การสอนให้พนักงานจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ระยะเวลา      2 ชั่วโมง  ผู้สอน     รองศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับเนื้อหา      Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) เกณฑ์ผ่านประเมิน      ผ่านเกณฑ์ 70 % ของแบบทดสอบ และทำแบบประเมินของบทเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตร

การบริหารจัดการโครงการด้วยอไจล์ (Agile Project Management)

คำอธิบายบทเรียน บทเรียน การบริหารจัดการโครงการด้วยอไจล์ (Agile Project Management) ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการบริหารโครงการด้วยอไจน์ ความหมายของอไจล์ กระบวนการในการบริหารจัดการโครงการด้วยอไจล์ กรอบการทำงานแบบอไจล์ รวมถึงแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการบริหารโครงการด้วยอไจล์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวทางการทำงานแบบอไจล์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการและกระบวนการของการบริหารจัดการโครงการด้วยอไจล์ หัวข้อในบทเรียน What is Agile in Project Management Waterfall vs. Agile Development Cycle The 6 steps in Agile project methodology Agile Project Management Framework Best Practice for Agile ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร. วราพร จิระพันธุ์ทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเว็บและการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

จุดประกายความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม (Building an Innovation Mindset)

คำอธิบายบทเรียน บทเรียนนี้มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม แนวคิดและวิธีการที่จะทำให้เกิดนวัตกรรม ประโยชน์ของการคิดเชิงนวัตกรรม กระบวนการคิดเชิงนวัตกรรมโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการสร้างไอเดียเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร รวมทั้งตัวอย่างของแนวคิดเชิงนวัตกรรมที่นำมาใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดเพื่อการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการและเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร หัวข้อในบทเรียน Innovative Thinking Creating Innovative Ideas Design Thinking Process Organization Innovation Innovation Tools ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ คณบดี วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล : ทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานแบบออนไลน์ ( Digital Literacy: Essential Skills for Working Online )

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของ Digital Literacy ทักษะการใช้งาน Web Browsing เพื่อการทำงาน ทักษะการใช้งานอีเมล์เพื่อการทำงาน ทักษะการใช้เครื่องมือเพื่อการทำงานออนไลน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการทำงานออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและเห็นความสำคัญของ Digital Literacy เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการใช้อีเมล์ เครื่องมือการทำงานร่วมกันออนไลน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อในบทเรียน Introductionบทนำ Digital Literacy and Future Skills in Workplace การรู้ดิจิทัลและทักษะอนาคตในที่ทำงาน Digital Literacy: Essential knowledge & skill in Workplace การรู้ดิจิทัล: ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในที่ทำงาน Digital Etiquette & Digital resilienceการรู้ดิจิทัล: แนวปฏิบัติและการปรับตัวในโลกดิจิทัล Digital Literacy: All about Web Browsing & How to Use Email Effectively การรู้ดิจิทัล: การท่องเว็บและการใช้อีเมลอย่างมีประสิทธิภาพ Digital Literacy: Online Collaboration Tools การรู้ดิจิทัล: เรียนรู้เครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันออนไลน์ Digital Literacy: Content Creation tools & Wrap Up การรู้ดิจิทัล: เรียนรู้เครื่องมือสำหรับสร้างคอนเทนต์ ระยะเวลา 1 : 43 ชั่วโมง ผู้สอน ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ความเข้าใจการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยไซเบอร์ (Understanding Cybersecurity Risk Management)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้ความหมายและความสำคัญของ Cybersecurity และ Cybersecurity Risk กระบวนการของ Cybersecurity Risk ความรู้เบื้องต้นของ Risk Assessment และ Risk Management แนวทางการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจBusiness Continuity Planning (BCP) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและกระบวนการของ Cybersecurity Risk Management เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการพื้นฐานของ Risk Management เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวทางการจัดทำแผน Business Continuity Planning หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ Cyber Security vs. Information Security เรียนรู้ความหมายของ Cyber Security และ Information Security Cyber Security Risk Management ความเข้าใจเบื้องต้นของ Cyber Security Risk Management Frameworks กรอบการดำเนินงานและมาตราฐานที่เกี่ยวข้อง NIST Cybersecurity Framework ความเข้าใจเบื้องต้นของ NIST Cybersecurity Framework Business Continuity Planning (BCP) เรียนรู้การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301 Business Continuity Management เรียนรู้มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301 (BCM) Wrap Up ทบทวนความรู้ในบทเรียน ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน ผศ.พิเศษ สันติพัฒน์ อรุณธารี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Data Driven Digital Government Transformation)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้พื้นฐานและองค์ประกอบของข้อมูล ความสำคัญของการใช้ข้อมูลเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิด Digital Transformation ในองค์กร การสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล แนวทางการประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายและความความสำคัญของการใช้ข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวทางการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ What is Data? ข้อมูลคืออะไร ? Data-Driven Mindset การสร้างกรอบความคิดการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data & Digital Transformation การใช้ข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล Data-Driven Organization Frameworks กรอบและแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล "3S Model: S1 Signal- Foresight for Future Business โมเดล 3S ในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล : S1 สัญญานและการคาดการณ์แห่งอนาคต " "3S Model: S2 Supply chain and Business Model โมเดล 3S ในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล : S2 โซ่อุปทานและแบบจำลองธุรกิจองค์กร" "3S Model: S3 Strategic Design for Future Business โมเดล 3S ในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล : S3 การออกแบบกลยุทธ์สำหรับองค์กรในอนาคต" Data-Driven & Digital Transformation in Governmentการประยุกต์ใช้กรอบความคิดและการขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัลในองค์กรภาครัฐ ระยะเวลา 1 : 58 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.สุเทพ นิ่มสาย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

หลักการสร้างภาพข้อมูลและการออกแบบแดชบอร์ดอย่างมีประสิทธิภาพ (The Principle of Data Visualization and Dashboard Design)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้หลักการเบื้องต้นและความหมายของ Data Visualization และ Dashboard การทำความเข้าใจผู้ใช้งาน Data แต่ละประเภทในองค์กรเพื่อให้สามารถออกแบบการแสดงผลข้อมูลได้ตรงตามความต้องการ หลักการออกแบบ Dashboard ที่ดี และเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำ Dashboard วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของ Data Visualization และ Dashboard เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการในการออกแบบ Dashboard ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวทางในการเลือกใช้เครื่องมือ Data Visualization Tools เพื่อการทำงานในอง หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ Data เข้าใจข้อมูล Data Visualization เรียนรู้การสร้างภาพข้อมูล Design Principle หลักสำคัญในการการออกแบบ Data Visualization Tools เครื่องมือสำหรับการสร้างภาพข้อมูล Let’s Get Started Workshop เตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกปฏิบัติ Workshop: Data Visualization in action ฝึกปฏิบัติการจัดทำ data visualization ระยะเวลา 1 : 28 ชั่วโมง ผู้สอน อ.อดิศักดิ์ เสือสมิง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันไทย-ญี่ปุ่น ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

บทเรียน แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลภาครัฐเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 (Guidelines for Digital Government Process to Support Act on Carrying Out of Public Service via Electronic Means, B.E. 2565 (2022)) คำอธิบายหลักสูตร        ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นมา สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 รวมทั้งตัวอย่างประกาศคำสั่ง และรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่ทำให้ทราบสิ่งที่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฯ จากนั้นในส่วนของเนื้อหาหลักผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวปฏิบัติกระบวนการทางดิจิทัลสำหรับการขออนุญาตซึ่งมีการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ตามระดับความพร้อมของหน่วยงานหรือบริการ และการดำเนินการอื่นหลังการเข้ารับบริการ วัตถุประสงค์     เพื่อให้ผู้บริหาร หรือ ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565  สามารถระบุสิ่งที่ต้องดำเนินการ ทั้งการซักซ้อมสร้างความเข้าใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ และการปรับปรุงกระบวนการให้บริการขออนุญาต รวมทั้งการออกประกาศ คำสั่งที่เกี่ยวข้องได้อย่างสอดคล้อง และยังสามารถเรียนรู้มาตรฐานแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตามระดับความพร้อมเพื่อการปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ ความเป็นมาและสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติอย่างไรตาม พ.ร.บ. ฯ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ภาครัฐต้องจัดทำหรือปรับปรุงบริการอย่างไร การให้บริการอย่างต่อเนื่องกับประชาชนต้องทำอย่างไร แพลตฟอร์มกลางภาครัฐเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฯ Wrap Up สรุปบทเรียน ระยะเวลา      1 ชั่วโมง 25 นาที ผู้สอน     ดร.ธีรวัฒน์ โรจนไพฑูรย์  ผู้เชี่ยวชาญมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ ฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ สพร. ระดับเนื้อหา      Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) เกณฑ์ผ่านประเมิน      ผ่านเกณฑ์ 70 % ของแบบทดสอบ และทำแบบประเมินของบทเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตร

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence)

ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence) คำอธิบายหลักสูตร        หลักสูตรเนื้อหาตามมาตรฐาน“ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence)” จาก DQ Institute ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการพัฒนามาตรฐานระดัับสากล เกี่ยวกัับการให้้ความรู้้ด้้านความฉลาดทางดิจิทัล มาวิเคราะห์ ปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมีกรอบสมรรถนะ 5 ด้้าน คืือ 1) อัตลักษณ์์ดิจิทััล (Digital Identity) 2) การใช้้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่่างเหมาะสม (Digital Use) 3) การจััดการความปลอดภัยในโลกดิจิทัล (Digital Security) 4) การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) และ 5) การสื่่อสารดิจิทัล (Digital Communication) โดยในแต่ละหัวข้้อจะมีรายละเอียด สำหรับการพัฒนาความรู้ทักษะ และทัศนคติในการเป็นพลเมืืองดิจิทัลที่มีคุุณภาพ วัตถุประสงค์     1.เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและเห็นความสำคัญ การสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต 2.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้การสร้างความตระหนักรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ต รู้้เท่่าทัันและมีีความมั่นคง ปลอดภััยเพื่่อยกระดัับวิิถีีชีีวิิตด้้วยดิิจิิทัล หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ อัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) การใช้้เทคโนโลยีีดิิจิิทััลอย่่างเหมาะสม (Digital Use) การจััดการความปลอดภััยในโลกดิิจิิทััล (Digital Security) การรู้้เท่่าทัันดิิจิิทััล (Digital Literacy) การสื่อสารดิิจิิทััล (Digital Communication) การปรับตัวในยุคดิจิทัล (Digital Disruption) ระยะเวลา      1 ชั่วโมง 30 นาที ผู้สอน     อาจารย์สุมนฒ์ จิรพัฒนพร หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระดับเนื้อหา      Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) เกณฑ์ผ่านประเมิน      ผ่านเกณฑ์ 70 % ของแบบทดสอบ และทำแบบประเมินของบทเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตร

ความรู้และความเข้าใจข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Literacy for Data Analytics)

ความรู้และความเข้าใจข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Literacy for Data Analytics) คำอธิบายหลักสูตร        หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการในการรู้และเข้าใจรูปแบบของข้อมูล เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของการทำงานที่เกี่ยวกับข้อมูลในมิติต่างๆ ในการทำงานเกี่ยวกับข้อมูล ไปจนถึงเรียนรู้เกี่ยวกับความหมายความสำคัญของ ทักษะความรู้และเข้าใจข้อมูล (Data Literacy) ไปจนถึงกรอบระเบียบ มาตรฐาน รูปแบบการทำงานของข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับภาครัฐ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและเห็นความสำคัญของทักษะความสามารถพื้นฐานในเชิงข้อมูล 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และการเชื่อมโยงของทักษะความสามารถพื้นฐานในเชิงข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจการทำงาน สร้างความคุ้นเคย และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้อง 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหา หรือการทำงาน รวมไปถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของการทำงานด้านข้อมูล 5. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจทักษะพื้นฐานการอ่านและตีความข้อมูล (Data Reading) และการทำงานกับข้อมูล ด้วย Business Goal/Personal Goal เพื่อให้นำข้อมูลมาตัดสินใจ 6.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ (Data Evaluating Decisions) และใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานในการทำงานได้อย่างถูกต้อง หัวข้อในบทเรียน Introduction บทนำ ข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล (Data and Types of Data) จริยธรรมด้านข้อมูล (Data Ethics) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) ธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) การเตรียมข้อมูลเพื่อใช้งาน (Data Provisioning) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Data Analysis) ระยะเวลา      1 ชั่วโมง 40 นาที ผู้สอน     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดีอาจาร์ประจำกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับเนื้อหา      Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) เกณฑ์ผ่านประเมิน      ผ่านเกณฑ์ 70 % ของแบบทดสอบ และทำแบบประเมินของบทเรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตร

Digital Literacy

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับ Digital Literacy จะแนะนำส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเข้าใจพื้นฐานของอุปกรณ์ต่าง ๆ การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานทั้งในฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ และภัยอันตราย ที่เกิดขึ้นในรูปแบบดิจิทัล การคุกคามและวิธีป้องกันตัวในโลกดิจิทัล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและใช้ดิจิทัลสำหรับการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้การใช้ดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ หัวข้อในบทเรียน การเลือกใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รัฐบาลดิจิทัล สังคมออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์ เครื่องมือออนไลน์ ระยะเวลา 0 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

Introduction to Data Governance Framework and Open Data

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของธรรมาภิบาลข้อมูล แนวทางขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่สอดคล้องกับ ธรรมาภิบาลข้อมูล รวมทั้งความหมายและแนวทางการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนไปสู่รัฐบาลดิจิทัล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการในการนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำข้อมูลเปิดภาครัฐ หัวข้อในบทเรียน เกริ่นนำและคำถามชวนคิด Data Governance คืออะไร Data Governance for Data driven ข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data) ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน นายทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นักวิเคราะห์อาวุโส สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การสร้างความเข้าใจกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework Awareness)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 หลักการของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูลและแนวทางในการจัดตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ในเรื่องของธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ หัวข้อในบทเรียน พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ที่มาธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูล (Data) ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูล กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน แนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน นายวิบูลย์ ภัทรพิบูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) นายทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นักวิเคราะห์อาวุโส สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การออกแบบบริการภาครัฐ (Government Digital Service Design)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการของกระบวนการการออกแบบบริการ การนำเครื่องมือที่ช่วยในการการออกแบบบริการมาใช้ในการดำเนินการ เช่น Service Blueprint เป็นต้น นอกจากนี้ยังทราบถึงระดับการให้ความสำคัญของการออกแบบในองค์กร การออกแบบกับบริบทของงานบริการเพื่อผู้ใช้งาน ตลอดจนการสร้างแบบจำลองหรือสถานการณ์จำลอง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัล หัวข้อในบทเรียน Service Design ระดับการให้ความสำคัญของ Design ในองค์กร Service Design Process and Relative to Design Thinking Exploration Creation, Reflection and Implementation ระยะเวลา 2 : 00 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม CEO/Co-Founder ZTRUS, กรรมการบริหาร DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คุณนิติ มุขยวงศา ผู้ช่วยรองอธิการบดี สายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การออกแบบ UX/UI สุดปัง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ (Awesome UX/UI design to Grab the User Attention)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล (Digital Product) ความสำคัญของการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) และส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (UI) โดยเรียนรู้จากตัวอย่างของการออกแบบในปัจจุบัน ซึ่งการออกแบบจะต้องมีพื้นฐานของการจัดทำเส้นทางผู้ใช้บริการ (Customer journey) เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัล (Digital Product) การเรียนรู้การออกแบบส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (UI) จากตัวอย่างในปัจจุบัน การเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ CI (Corporate Identity) การออกแบบด้วย Visual Design และการเชื่อมต่อระหว่าง UX และ UI นอกจากนี้ยังเรียนรู้จากกรณีศึกษาที่น่าสนใจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจกระบวนการออกแบบ Digital Product เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับความหมายและควาแตกต่างของ UX และ UI เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ Customer Journey เพื่อให้ผู้เรียนความเข้าใจในพื้นฐานการออกแบบ UX และ UI หัวข้อในบทเรียน Digital Product ความสำคัญของ UX/UI ตัวอย่างการออกแบบ UX/UI ในปัจจุบัน Customer Journey การออกแบบที่เน้น Digital Product ตัวอย่าง UI ในปัจจุบัน CI – Corporate Identity เพื่อการออกแบบ Visual Design การเชื่อมต่อระหว่าง UX และ UI Case Study สรุปบทเรียน (Summary) ระยะเวลา 2 : 00 ชั่วโมง ผู้สอน ผศ. ดร.วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ คณบดี วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

เทคนิคการสร้างและการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) เพื่อการทำงานภาครัฐ

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของ Data Visualization และความแตกต่างระหว่าง Data Visualization กับ Info Graphic แนวทางและวิธีการในการจัดทำ Data Visualization โดยการสาธิตและใช้ข้อมูลจริง รวมถึงวิธีการใช้โปรแกรม Tableau เพื่อการวิเคราะห์และจัดทำ Data Visualization วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีเข้าใจความหมายและความแตกต่างของ Data Visualization และ Info Graphic เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและจัดทำกราฟรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับข้อมูล เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการนำข้อมูลจริงมาใช้ในการวิเคราะห์และสร้างภาพข้อมูล หัวข้อในบทเรียน สอน Data Visualization EP.1 Data Visualization VS Infographics การวิเคราะห์และสร้างภาพข้อมูล สอน Data Visualization EP.2 Data Visualization Techniques เทคนิคการสร้างภาพข้อมูล สอน Data Visualization EP.3 Data Visualization for Election Thailand 2019 เลือกตั้ง 62 สอน Data Visualization EP.4 โหลดข้อมูล Open Data Thailand มาใช้โปรแกรม Tableau ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโครงการ (Introduction to Project Management)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการของการวางแผนและการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการวางแผนและควบคุมโครงการให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา และเรียนรู้แนวทางในการจัดการทรัพยากร ทั้งด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านต้นทุน และด้านงบประมาณโครงการ อย่างถูกต้องเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการในการบริหารโครงการ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในกระบวนการบริหารโครงการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์หรือวางแผนงานโครงการเพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ในการบริหารโครงการที่ได้รับผิดชอบในหน่วยงานได้ หัวข้อในบทเรียน การบริหารโครงการ การวางแผนโครงการ การดำเนินงานโครงการ (Project Execution) การติดตามและการควบคุม การปิดโครงการ (Closing Project) เครื่องมือสำหรับใช้บริหารโครงการ (Project Management Tools) ระยะเวลา 1 : 15 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน) คู่มือการสมัครสมาชิก คลิก!คู่มือการเรียนและพิมพ์ใบประกาศนียบัตร คลิก!สอบถามรายละเอียดเนื้อหาหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ Facebook TDGA คลิก!

การเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมทั้งการศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องความคิด การพัฒนาคน การพัฒนาการทำงานร่วมกัน การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อการขับเคลื่อนไปสู่รัฐบาลดิจิทัล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการเปลี่ยนผ่านสู่วัฒนธรรมการทำงานแบบดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการให้บริการและมาตรฐานการให้บริการดิจิทัลภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กรได้ หัวข้อในบทเรียน การขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัลอย่างยั่งยืน การพัฒนาคนพันธุ์ใหม่ (Digital DNA) การทำงานร่วมกันแบบข้ามหน่วยงาน วัฒนธรรมดิจิทัล การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร บริการเทคโนโลยีดิจิทัล Service Level Agreement ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

แนวทางในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้สำหรับบริการภาครัฐ (AI for Government Services)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ โดยการศึกษาแนวทางจากการใช้งานจริงในต่างประเทศ และแนวทางในการเตรียมการเพื่อให้สามารถนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมได้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและหลักการของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์สำหรับภาครัฐ หัวข้อในบทเรียน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) คืออะไร ความสามารถของ AI ในปัจจุบัน แนวทางเบื้องต้นในการวิเคราะห์ว่าสิ่งใดเป็น AI ทิศทาง AI ของโลก AI กับการเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับบริการภาครัฐ (Blockchain for Government Services)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของเทคโนโลยี Blockchain และการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในการบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐ รวมถึงกรณีศึกษาในประเทศต่าง ๆ ที่ได้นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ให้บริการประชาชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี Blockchain เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อการทำงานภาครัฐได้ หัวข้อในบทเรียน เทคโนโลยี Blockchain การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่องานบริการภาครัฐ แนวคิดและหลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain สำหรับภาครัฐ ภายใต้บริบทของประเทศไทย ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ (PDPA for Government Officer)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดที่ลงลึกถึงกฎหมายมาตราสำคัญจากมุมมองของภาครัฐ เช่น ศักดิ์ศรีของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มกิจการที่อยู่และไม่อยู่ภายใต้กฎหมาย ฐานกฎหมายสำหรับใช้เพื่อประกอบการเก็บรวบรวม ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล และฐานกฎหมายที่แนะนำสำหรับภาครัฐ รายละเอียดการแจ้งให้เจ้าของข้อมูล (Data Subject) ทราบเมื่อทำการเก็บรวบรวม ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) คณะกรรมการเชี่ยวชาญ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ตลอดจนสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องการขอสำเนา ขอให้ลบทำลาย เป็นต้น นอกจากนี้มีการเกริ่นนำถึงกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล ฐานกฎหมายในการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางของฐานกฎหมายสำหรับหน่วยงานของรัฐที่เอื้อให้ดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ฐานความยินยอมเสมอไป ตลอดจนตัวอย่างการดำเนินการโดยอาศัยฐานกฎหมายภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ และความจำเป็นในการใช้อำนาจรัฐ ความหมายของบทบาทต่าง ๆ ของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) และ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) ทั้งนี้ ได้อธิบายแนวทางการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐโดยให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับฐานกฎหมายเพื่อประกอบการเก็บรวบรวม ใช้งาน และเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล และฐานกฎหมายที่แนะนำสำหรับภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยอาศัยฐานกฎหมายภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นในการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจบทบาทต่าง ๆ ของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) และ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) หัวข้อในบทเรียน กฎหมายบางมาตราที่น่าสนใจสำหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เกริ่นนำ และหลักการปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับข้อมูลภาครัฐ พร้อมกรณีตัวอย่าง ระยะเวลา 1 : 45 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายดาตาโซลูชั่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ปรึกษา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer: CDO) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ (Understanding and Using Digital Technology)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อใช้สิทธินั้นบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล ความเข้าใจการสื่อสารผ่านทางสื่อ และเครื่องมือทางดิจิทัลในแง่มุมต่าง ๆ มีความเข้าใจความมั่นคง ความเป็นส่วนตัวในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล รวมถึงภัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในแง่วิธีการที่ได้รับการคุกคามผลกระทบที่เกิดขึ้น การป้องกัน การลดความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจสารสนเทศและสื่อในยุคดิจิทัลเพื่อที่สามารถระบุข้อมูลที่ต้องการหาข้อมูลนั้น ประเมินประโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลนั้นจากแหล่งต่าง ๆ ได้ วัตถุประสงค์ มีความรู้ ความเข้าใจความรู้ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล คิด วิเคราะห์ แยกแยะ สื่อดิจิทัลเพื่อเลือกใช้ทำงานได้อย่างเหมาะสม มีความเข้าใจและปฏิบัติงานด้านดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนตระหนักถึงภัยคุกคามทางดิจิทัลและสามารถตรวจสอบการทำงานตามหลักปฏิบัติงานที่ดีได้ในเบื้องต้น มีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำงานผลิตชุดข้อมูลสำหรับการบริการสาธารณะ และมีความรู้ในการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวข้อในบทเรียน จริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงสื่อดิจิทัล ความปลอดภัยยุคดิจิทัล ความเข้าใจและการสื่อสารยุคดิจิทัล ระยะเวลา 2 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ สมานชื่น ดร.ปรัชญ์ สง่างาม อาจารย์มนัสศิริ จันสุทธิรางกูร สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงานภาครัฐ (Essential Digital Tools for Workplace)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลในการทำงาน เช่น เทคนิคการใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำในการจัดรูปแบบข้อความหรือจัดการงานเอกสารด้วยความสะดวกรวดเร็ว เทคนิคการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ การใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ เพื่อการออกแบบการนำเสนอให้น่าสนใจ ตลอดจนการใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน ได้แก่ การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมประชุมออนไลน์ การใช้งานพื้นที่แบ่งปันข้อมูลออนไลน์ ตลอดจนการสร้างสื่อดิจิทัลโดยใช้โปรแกรมในการตัดต่อภาพและการตัดต่อภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเทคนิคต่าง ๆ สำหรับการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกันในการประชุมแบบออนไลน์ตามแนวทางการปฏิบัติงานแบบวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในเบื้องต้นได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในการใช้โปรแกรมในการตัดต่อภาพหรือการตัดต่อภาพเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิบัติงานเบื้องต้นได้ หัวข้อในบทเรียน เทคนิคการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word) เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว เทคนิคการใช้ Excel เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ออกแบบการนำเสนอให้สวยด้วย Power Point การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัลเบื้องต้น ระยะเวลา 3 : 15 ชั่วโมง ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ คณาวัฒนไชย คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณศิระ เอกบุตร จาก เทพเอ็กเซล : Thep Excel คุณวันเฉลิม อัศวแสงรัตน์ จาก PowerPoint Boy คุณอภิวัฒน์ วงศ์กัณหา จาก ครูอภิวัฒน์ สอนสร้างสื่อ ดร.สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ จาก Supoet Srinutapong ดร.รัฐพล ประดับเวทย์ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในการทำงานและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามประเภทต่างๆ และแนวทางป้องกันแก้ไข เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้ หัวข้อในบทเรียน แนะนำบทเรียน Cybersecurity คืออะไร ความรู้พื้นฐานของ Cybersecurity รูปแบบภัยคุกคามของ Cybersecurity ความตระหนักรู้ด้าน Cybersecurity ในชีวิตประจำวัน ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน คุณพลากร ลาภอลงกรณ์ ผู้จัดการส่วนบริการลูกค้า ฝ่ายปฏิบัติการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Digital Transformation by Design Thinking)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการออกแบบนวัตกรรมในปัจจุบัน รวมทั้งเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และแนวทางในการนำ Design Thinking ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล นอกจากนี้ยังเรียนรู้เกี่ยวกับการริเริ่มไอเดียเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์ดิจิทัล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ หัวข้อในบทเรียน Technology Disruption and Trends Creativity and Innovation Design Thinking Process Creating Transformation Project Ideas ระยะเวลา 2 : 00 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.ชนะกัญจน์ ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล (Digital Leadership)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นในยุคดิจิทัล สมรรถนะที่ผู้นำจำเป็นต้องมีเพื่อการนำองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะภายในหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ มีการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) พร้อมกรณีศึกษา และกรณีตัวอย่างของในประเทศและต่างประเทศ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ Disruptive Technologies เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจองค์กรดิจิทัลและการสื่อสารในการต่อยอดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล หัวข้อในบทเรียน กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) คืออะไร การทำ Digital Transformation ในหน่วยงานภาครัฐ แนวทางปฏิบัติในมุมมองของประเทศไทย ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

แนวทางและแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data Guideline)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางและกระบวนการเปิดเผยข้อมูลในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและผู้ใช้ข้อมูลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเปิดเผยข้อมูล เนื้อหาของหลักสูตรนี้ครอบคลุมกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับแนวทางและแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ หัวข้อในบทเรียน บทนำ ประเภทความสัมพันธ์ของข้อมูล การเตรียมข้อมูลเพื่อเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ การพิจารณาชุดข้อมูลคุณภาพสูง ขั้นตอนการเปิดเผยข้อมูล การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (Digital Government Act.)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล วัตถุประสงค์ และกรอบของ พ.ร.บ.รวมถึงสาระของมาตราที่สำคัญและแนวปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (Digital Government Act.) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ หัวข้อในบทเรียน พระราชบัญญัติ การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 วัตถุประสงค์ กรอบ และทิศทาง คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หน้าที่ อำนาจ และค่าตอบแทน ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของ สพร. การส่งข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ ระยะเวลา 0 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

มาตรฐานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework Standard)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางในการการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงเรียนรู้ขั้นตอนในการทำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ หัวข้อในบทเรียน บทนำ กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ขั้นตอนการทำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ระยะเวลา 0 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ความรู้พื้นฐานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทุกระดับ

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของ Big Data และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ กระบวนการในการจัดเก็บ Big Data รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Big Data และแนวทางในการวิเคราะห์ Big Data เพื่อการทำงานภาครัฐ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล (Hadoop) เพื่อการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการบริหารภาครัฐ หัวข้อในบทเรียน ทำความรู้จัก Big data จะนำ Big data ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร Big data มีกระบวนการจัดเก็บอย่างไร Hadoop จะหาได้จากที่ใด Hadoop มีกระบวนการทำงานอย่างไร Hadoop มีกระบวนการทำงานอย่างไร 2 Hadoop กับการประยุกต์ใช้ในโลกธุรกิจ Big data กับการสร้างอาชีพและรายได้ Big Data Analytics กับการบริหารภาครัฐ ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร.วฤษาย์ ร่มสายหยุด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

ธรรมาภิบาลข้อมูลสำหรับผู้บริหารองค์กรรัฐ (Data Governance Mindset for the Executive)

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายทิศทางการสนับสนุนธรรมาภิบาลข้อมูลของ สพร. แรงจูงใจสำหรับการทำธรรมาภิบาลข้อมูลของหน่วยงาน ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีคุณภาพ ตัวอย่างการปรับใช้หลักธรรมาภิบาลข้อมูลในการพัฒนาระบบ ไอทีหรือบริการภาครัฐ ประเด็นคำถามที่สำคัญเมื่อจะดำเนินการโครงการไอทีให้เป็นเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลข้อมูล วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหาร หรือ ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจที่แท้จริง และสามารถนำธรรมาภิบาลข้อมูลไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงระบบไอที และปรับปรุงหน่วยงานได้อย่างเต็มศักยภาพ หัวข้อในบทเรียน DGA Data Governance Strategy ทำ Data Governance ต้องเตรียมอะไรบ้าง ตัวอย่างจริงที่หน่วยงานรัฐนำ Data Governance ไปใช้ในระบบงานไอที ระยะเวลา 0 : 45 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายดาตาโซลูชั่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ปรึกษา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้บริหารข้อมูลระดับสูง (Chief Data Officer: CDO) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

Uses of Hadoop in Big Data : เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของฮาดูปและระบบที่เกี่ยวข้องกับฮาดูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่เบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับ Big Data ความหมายและลักษณะที่สำคัญของ Big Data รวมทั้งแนวทางการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ และแนวทางการนำ Big Data ไปใช้ประโยชน์เพื่อการทำงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำงานได้อย่างเหมาะสม หัวข้อในบทเรียน หลักการทำงานของ Hadoop Hadoop รุ่น 2 หลักการทำงานของ Hadoop รุ่น 2 Hadoop HIVE Apache pig Apache Sqoop Apache HBase Apache Mahout Apache Zookeeper แนะนำ Big Data Big Data คืออะไร Big Data มีลักษณะเป็นอย่างไร การประยุกต์ข้อมูลขนาดใหญ่ ฮาดูป (Hadoop) ฮอนทอนเวิร์ก (Hortonworks) คลาวด์เดอรา (Cloudera) แซส (SAS) Apache Hadoop ระยะเวลา 1 : 15 ชั่วโมง ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร.วฤษาย์ ร่มสายหยุด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

การประยุกต์ใช้ความรู้ปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เพื่อการบริการภาครัฐ

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายและลักษณะของหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) กระบวนการในการสร้างหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เบื้องต้น และหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วยโปรแกรมจาวาสคริปต์ วิธีการในเชื่อมต่อกับโปรแกรม เมสเซนเจอร์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสร้างหุ่นยนต์สนทนา (Chatbot) เพื่อสนับสนุนการทำงานในองค์กรภาครัฐ หัวข้อในบทเรียน หุ่นยนต์สนทนาคืออะไร What is Chatbot? การเข้าระบบและสร้างชุดคำถาม คำตอบ มาตรฐาน การใช้ตัวแปรและชื่อเฉพาะ การเขียนโปรแกรมจาวาสคริปต์เพื่อบทสนทนาที่ซับซ้อนขึ้น การใช้บริบท (Context) เพื่อการสนทนาแบบต่อเนื่อง การต่อกับโปรแกรมเมสเซนเจอร์ เช่น ไลน์ ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association Of Thailand) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

การฝึกปฏิบัติการใช้งาน AI บนแพลตฟอร์ม AI for Thai

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานแพลตฟอร์ม Application AI for Thai ที่พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ การใช้งาน Module ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้งานและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการทำงานในหน่วยงานได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานแพลตฟอร์ม Application AI for Thai เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้งาน Module ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม Application AI for Thai หัวข้อในบทเรียน CONVERSATION: Vaja (วาจา) บริการแปลงข้อความภาษาไทยให้เป็นเสียงพูด MACHINE TRANSLATION บริการแปลภาษา SENTIMENT ANALYSIS บริการวิเคราะห์ความคิดเห็นและอารมณ์ (ThaiMoji) SENTIMENT ANALYSIS บริการวิเคราะห์ความคิดเห็นและอารมณ์ (Ssense) Tag Suggestion บริการแนะนำป้ายกำกับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา Person Detection (T-Person) บริการระบุตำแหน่งบุคคลในภาพ Motion Heatmap (T-Heatmap) บริการประเมินความหนาแน่นของบุคคลในการใช้พื้นที่ บริการระบุชื่ออาหารไทยจากรูปภาพ ด้วยเทคนิค Deep Learning Object Character Recognition (T-OCR) บริการแปลงภาพเอกสารให้เป็นข้อความ Basic NLP - Soundex บริการค้นหาคำที่ออกเสียงคล้าย CONVERSATION: PARTII (พาที) ระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย ระยะเวลา 2 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Intermediate (สำหรับบุคลากรที่ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรด้าน IT)

การสร้างความรู้ความเข้าใจภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้กับปัญญาประดิษฐ์

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หัวข้อในบทเรียน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ Computational Linguistics คืออะไร Applications ของ Natural Language Processing การศึกษาคุณสมบัติทางสถิติของภาษา อยากเก่งภาษาอังกฤษต้องรู้ Vocab เท่าไร การพิสูจน์กฎของซิพฟ์ กฎของซิพฟ์และโค้งซิพฟ์ กฎของซิพฟ์สำหรับคลังข้อมูลภาษา ประยุกต์ใช้กฎของซิพฟ์เพื่อการพัฒนา Search Engine อย่างง่าย Speech Recognizer เครื่องแปลงเสียงเป็นอักษร Language Mode เบื้องต้น การประยุกต์ Language Model ในรูปแบบอื่น ๆ อยากฟังให้เก่งขึ้น ต้องฝึก Language Model ให้ดีขึ้น ระยะเวลา 1 : 30 ชั่วโมง ผู้สอน ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : หลักสูตรเฉพาะทาง ที่กลุ่มบุคลากรด้าน IT ต้องการเรียนรู้เชิงลึก

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สำหรับบุคลากรภาครัฐทุกระดับ

คำอธิบายบทเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของปัญญาประดิษฐ์ ประโยชน์จากการนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้สนับสนุนการทำงาน ความรู้เบื้องต้นของการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และความรู้เบื้องต้นของการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์ประกอบของปัญญาประดิษฐ์ หัวข้อในบทเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) คืออะไร การเรียนรู้เชิงลึกคืออะไร (Deep Learning) ระยะเวลา 1 : 0 ชั่วโมง ผู้สอน สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย Artificial Intelligence Association Of Thailand (AIAT) ประกาศนียบัตร มีประกาศนียบัตร ระดับเนื้อหา : Basic (สำหรับบุคลากรทั่วไปที่ต้องการพื้นฐานความรู้ในการปฏิบัติงาน)

หลักสูตรสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ทางด้านการดำเนินงานจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันและต่อยอดความร่วมมือการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงาน เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษา ที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำหลักสูตรการอบรมสำหรับนักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน และบุคลากรในวัยแรงงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัลตามแนวทางของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษา ที่เข้ารับการอบรมดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยนักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน และบุคลากรในวัยแรงงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัล เพื่อร่วมขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในระดับหน่วยงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ คุณสมบัติผู้เข้าอบรม หน่วยงานภาครัฐ : หน่วยงานละ 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการการจัดทำข้อมูลของหน่วยงาน ผู้จัดทำ ข้อมูล หรือสถิติ ของหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา : สถาบันละ 2 คน ผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดทำ ผู้บริหารจัดการข้อมูล หรือสถิติ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการอบรม จำนวน 2 วัน กำหนดการ รุ่นที่ 2 วันที่ 30 ถึง 31 กรกฎาคม 2563 รุ่นที่ 3 วันที่ 20 ถึง 21 สิงหาคม 2563 รุ่นที่ 4 วันที่ 27 ถึง 28 สิงหาคม 2563

หลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความตระหนักรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และความเข้าใจกรอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามแนวทางของ NIST Cybersecurity Framework เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถวางแผนป้องกันและรับมือกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ตามหลักการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนรับมือเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ในองค์กรได้ คุณสมบัติผู้เข้าอบรม เป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Specialist) (ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ เจ้าพนักงานเครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือตำแหน่งในสายงานอื่น หรือประเภทอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้เชิงเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าอบรมข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล จัดการ และตรวจสอบระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล และจัดการระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการบำรุงรักษา ให้บริการ และแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับครุภัณฑ์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล และจัดการเวบไซต์ของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เกิดขึ้นประจำวัน ระยะเวลาการอบรม จำนวน 5 วัน กำหนดการ ระหว่าง วันที่ 18 ถึง 22 มกราคม 2564

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO) รุ่นที่ 30

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ได้ปรับกรอบแนวคิดด้านดิจิทัลเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล และเกิดการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐในการพัฒนาองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัลตามมาตรฐานสากล และมีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ สามารถเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการบริการของหน่วยงาน โดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และนวัตกรรมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรเพื่อสร้างคุณค่าร่วมกันกับทุกภาคส่วน เพื่อให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ สามารถวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศและพร้อมรับมือกับทิศทางกับทิศทางเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อให้เกิดเครือข่ายของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ อันจะทำให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการข้ามหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณสมบัติผู้เข้าอบรม เป็นผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) หรือผู้ช่วยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง(CIO Assistant) ประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่เทียบเท่า เป็นรองหัวหน้าหน่วยงาน ระดับ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะเวลาการอบรม สัปดาห์ละหนึ่งวัน ทุกวันพุธ โดยฝึกอบรมทั้งหมด จำนวน 23 ครั้ง กำหนดการ ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2564

หลักสูตรหลักการกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้บริหารภาครัฐ(DGA206)

ข้อมูล (Data) ถือเป็นป็จจัยสําคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรต่างใช้ประโยชน์จากข้อมูลจนประสบความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจด้วยจํานวนข้อมูลที่ใช้ในหน่วยงานมีจํานวนมากมาย 

หลักสูตร