DG Learning Portal
1. กรุณาคลิกลงทะเบียนที่ Digital ID
(หรือหากมีบัญชี Digital ID แล้วสามารถเข้าสู่ระบบได้ทันที)
2.ยืนยันอีเมล
(ท่านที่เป็นสมาชิกเดิมให้ใช้อีเมลเดิมในการยืนยัน)
คลิกเพื่อไปยัง Digital ID

Public Training



หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รุ่นที่ 14 (e-Government Executive Program: e-GEP#14)

เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลของผู้บริหารภาครัฐให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย แผนงานสำคัญเพื่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เทคโนโลยีสมัยใหม่ และแนวคิดในการบริหารองค์กรที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถกำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่สอดรับกับบทบาทภารกิจของหน่วยงาน และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ โดยหลักสูตร e-GEP ได้มีการจัดอบรมพัฒนาผู้บริหารภาครัฐมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีถึง 13 รุ่นแล้ว และในแต่ละปีสถาบัน TDGA ยังมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีเนื้อหาและแนวทางการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมนอกจากจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการองค์กรจากกรณีศึกษาที่น่าสนใจระหว่างผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมด้วยกันเองด้วย ตลอดจนการเรียนรู้นวัตกรรม เครื่องมือ และเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม

หลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 11 (e-Government Program for Chief Executive Officer : e-GCEO#11)

เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรภาครัฐเข้าใจถึงทิศทาง นโยบาย และแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างถ่องแท้ โดยผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาต่าง ๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการองค์กรจากกรณีศึกษาที่น่าสนใจระหว่างผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมด้วยกันเองด้วย ตลอดจนการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้

หลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Transformation Program: DTP#6)

เพื่อให้ผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญในการทำ Digital Transformation ขององค์กรได้เข้าใจถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีดิจิทัล เรียนรู้การใช้เครื่องมือและวิธีการให้บริการไปสู่บริการดิจิทัล และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการได้อย่างเป็นรูปธรรม

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO) รุ่นที่ 31 (2)

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO) รุ่นที่ 31

หลักสูตรเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ รุ่นที่ 7

หลักสูตรเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภาครัฐ (Government Data Protection Officer : GDPO) เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 หน่วยงานคือ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช.  เพื่อร่วมกันสร้างเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ให้มีความรู้และทักษะอย่างเพียงพอเพื่อการปฏิบัติหน้าที่   ตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด โดยเนื้อหาในหลักสูตรเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะมาตราต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องหลักการด้านความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy and Data Protection Principles) บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Roles and Responsibility) มาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การบริหารจัดการและการประเมินความเสี่ยง รวมถึงเอกสารอื่นที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  หลักสูตรนี้จะมุ่งเน้นในการเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น DPO ของหน่วยงาน ให้เป็นผู้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวปฏิบัติ มาตรฐานความปลอดภัยตามหลักการสากล สามารถนำความรู้และผลจากการฝึกปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงเตรียมความพร้อมเพื่อการขอรับรองมาตรฐานคุณวุฒิอาชีพนักจัดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระดับ 7 

หลักสูตรกฎหมาย PDPA สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567 (PDPA for Data Protection Practitioner)

    หลักสูตรกฎหมาย PDPA สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2567 (PDPA for Data Protection Practitioner) จัดทำขึ้นเพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้เรียนในหลักสูตรจะได้รับความรู้ในตัวเนื้อหา พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นภาพรวมของการบังคับใช้กฎหมายที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงทางกฎหมาย และป้องกันความเสียหายต่อหน่วยงานที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

หลักสูตรการจัดทำการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานของรัฐ ที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากร ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ และการใช้งาน Data.go.th เพื่อจัดทำข้อมูลของหน่วยงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถเปิดเผยได้ และประชาชนผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถเป็นผู้นำในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม ได้นำความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ และการใช้งาน Data.go.th ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้ทันที คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ ผู้จัดทำข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลเชิงตัวเลข หรือสถิติต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ เป็นต้น ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ ที่มีความรู้พื้นฐานการจัดการตาราง (Table) หรือโปรแกรม Excel (Pivot Table) ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ ที่มีความรู้พื้นฐานในการสร้างกราฟรูปแบบต่าง ๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น ระยะเวลาการอบรม จำนวนย 2 วัน กำหนดการ รุ่นที่ 1 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2563 รุ่นที่ 2 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2563

หลักสูตรสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ทางด้านการดำเนินงานจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) ด้วยกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันและต่อยอดความร่วมมือการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงาน เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษา ที่เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำหลักสูตรการอบรมสำหรับนักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน และบุคลากรในวัยแรงงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัลตามแนวทางของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework) เพื่อให้เครือข่ายสถาบันการศึกษา ที่เข้ารับการอบรมดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยนักศึกษาจบใหม่ ผู้ว่างงาน และบุคลากรในวัยแรงงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัล เพื่อร่วมขับเคลื่อนการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในระดับหน่วยงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ คุณสมบัติผู้เข้าอบรม หน่วยงานภาครัฐ : หน่วยงานละ 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการการจัดทำข้อมูลของหน่วยงาน ผู้จัดทำ ข้อมูล หรือสถิติ ของหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา : สถาบันละ 2 คน ผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดทำ ผู้บริหารจัดการข้อมูล หรือสถิติ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาการอบรม จำนวน 2 วัน กำหนดการ รุ่นที่ 2 วันที่ 30 ถึง 31 กรกฎาคม 2563 รุ่นที่ 3 วันที่ 20 ถึง 21 สิงหาคม 2563 รุ่นที่ 4 วันที่ 27 ถึง 28 สิงหาคม 2563

หลักสูตรการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ (Government Data Governance in Practice)

วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของธรรมาภิบาลข้อมูลในองค์กร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลนั้นถูกต้อง มีความมั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) และกระบวนการในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปประยุกต์ใช้ อันนำไปสู่การดำเนินการภายในหน่วยงาน ติดตามการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ (Academic) ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐผู้ทำงานด้านบริการ (Service) ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist) ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทั่วไปที่มีความสนใจ ระยะเวลาการอบรม จำนวน 3 วัน กำหนดการ รอประกาศ

หลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความตระหนักรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้และความเข้าใจกรอบในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ตามแนวทางของ NIST Cybersecurity Framework เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถวางแผนป้องกันและรับมือกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ตามหลักการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนรับมือเกี่ยวกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ในองค์กรได้ คุณสมบัติผู้เข้าอบรม เป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Specialist) (ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ เจ้าพนักงานเครื่อง คอมพิวเตอร์ หรือตำแหน่งในสายงานอื่น หรือประเภทอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้เชิงเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศตามเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าอบรมข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล จัดการ และตรวจสอบระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล และจัดการระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการบำรุงรักษา ให้บริการ และแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับครุภัณฑ์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการดูแล และจัดการเวบไซต์ของหน่วยงานโดยตรง เป็นผู้มีประสบการณ์ ในการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เกิดขึ้นประจำวัน ระยะเวลาการอบรม จำนวน 5 วัน กำหนดการ ระหว่าง วันที่ 18 ถึง 22 มกราคม 2564

หลักสูตรการออกแบบกระบวนงานเพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัล (Business Process Design for Digital Transformation)

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจแนวคิดในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการวิเคราะห์กระบวนงานขององค์กรในปัจจุบันและสามารถออกแบบกระบวนงานที่คาดหวังสำหรับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติการออกแบบกระบวนงานเป้าหมายด้วยเครื่องมือต่างๆเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำพิมพ์เขียวบริการ(Service Blueprint) เพื่อพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัล เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) เพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมความรู้จากการอบรมและฝึกปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างเหมาะสม คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ (Academic) ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist) ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐทั่วไปที่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับการออกแบบกระบวนงาน ระยะเวลาการอบรม จำนวน 11 วัน กำหนดการ รอประกาศ

หลักสูตร Future of Government Workplace in Metaverse Era

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)      

หลักสูตร Cyber Resiliency ยืนหยัดยืนอยู่เมื่อภัยมา

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)      

หลักสูตร GCIO X LINE

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)      

หลักสูตร การเสริมสร้างศักยภาพ ในการใช้งานแพลตฟอร์มเพื่อการประชาสัมพันธ์และเชื่อมโยงชุมชน

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

หลักสูตร Migration to Cloud by AWS

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

หลักสูตร Cyber Range for Security Operations (SecOps)

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

หลักสูตร LINE for Government Officers

โครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่าง สพร. โดย สถาบัน TDGA กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและองค์กรพันธมิตรภาครัฐ ครั้งที่ 1 (โครงการ Tech for Gov #Gen1) ประกอบด้วย 1. บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก 2. บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) 3. บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) 4. บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) 5. บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

หลักสูตรกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ (Personal Data Protection Act for Government Officer)

         สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล ดำเนินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรกลางเพื่อการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล โดยใช้กรอบแนวทางหลักสูตรกลางเพื่อการยกระดับทักษะดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐในการดำเนินการ เพื่อฝึกอบรมข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นและสอดคล้องกับแผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลให้มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล การรักษามั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 วัตถุประสงค์      โครงการฝึกอบรมหลักสูตรกลางเพื่อการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลสำหรับหลักสูตรหลักสูตรกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้       1.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 256       2.เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคค       3.เพื่อให้สามารถดำเนินการปรับปรุงและจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมายได       4.เพื่อให้สามารถนำความรู้และผลจากการฝึกปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองส่วนบุคคลในหน่วยงานได้ กลุ่มเป้าหมาย      ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ จำนวนผู้เข้ารับการอบรม     จำนวนผู้เข้าอบรมรุ่นละ 40 คนจำนวน 2 รุ่น ระยะเวลาการฝึกอบรม      รุ่นที่ 1 วันที่ 15-16 สิงหาคม 2565     รุ่นที่ 2 วันที่ 31 สิงหาคม -1 กันยายน 2565

หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน (Cybersecurity Fundamentals)

     หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักรู้ความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พร้อม ทั้งมีความรู้และความเข้าใจในภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เบื้องต้นในวิธีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตได้อย่างถูกต้องและทันท่วงทีรวมทั้งมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ระบบสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์วัตถุประสงค์    1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักรู้ในความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์     2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้อย่างปลอดภัยและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้เมื่อ ต้องพบกับภัยคุกคาม     3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินความเสี่ยงด้านไซเบอร์และมีแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้อง เหมาะสมกลุ่มเป้าหมาย   ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐกลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ จำนวนผู้เข้ารับการอบรม   ผู้เข้าอบรมรุ่นละ 40 คนจำนวน 2 รุ่น    รุ่นที่ 1: วันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2565     รุ่นที่ 2: วันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2565

หลักสูตรการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ (Government Data Governance in Practice)

    หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการในการประบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร การฝึกปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์กระบวนงานในองค์กรโดยผลจากการฝึกปฏิบัติจะทำให้เห็นการชุดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละหลักสูตรการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ (Government Data Governance in Practice) กระบวนงาน และเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละชุดข้อมูลเพื่อให้แต่ละส่วนงานได้เห็นภาพของการใช้ข้อมูลร่วมกันใน หน่วยงานและกำหนดผู้รับผิดชอบชุดข้อมูลนั้น ๆ ได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐความสำคัญของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล กระบวนการในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลแต่ละขั้นตอน การฝึกปฏิบัติในการจัดทำชั้นความลับข้อมูล (Data Classification) การจัดทำการจัดทำเมทาดาตาเชิงธุรกิจ (Business Metadata) การจัดทำเมทาดาตาเชิงเทคนิค (Technical Metadata การจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) การจัดทำนโยบายข้อมูล (Data Policy)

TechforGov Gen3 AI & Cyber Security, Towards Smart Government

Tech for Gov Gen III ปีนี้ภายใต้ Theme “AI & Cyber Security, Towards Smart Government” เพื่อให้บุคลากรภาครัฐมีความรู้และทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาบริการภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงทีเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล

TDGA - TDGA