การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับบริการยังคงเป็นกระบวนการหรือองค์กรประกอบที่สำคัญในการพัฒนาบริการดิจิทัล โดยต้องสามารถวิเคราะห์คุณลักษณะของผู้บริการ (Profile) อย่างชัดเจน และระบุให้ได้ว่า บริการดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นจะช่วยสร้างคุณค่าหรือประโยชน์เพิ่มเติม (Value) ให้แก่ผู้รับบริการได้อย่างไร |
โดยลักษณะของผู้รับบริการ (Customer Profile) ต้องวิเคราะห์องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
1. Jobs คือ ผู้รับบริการต้องทำอะไร รวมทั้งความต้องการของผู้รับบริการทั้งส่วนที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้
2. Pains คือ ปัญหาหรือประเด็นที่ผู้รับบริการไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือพยายามหลีกหนี รวมถึงอุปสรรคและความเสี่ยงที่ผู้รับบริการต้องเผชิญ
3. Gains คือ ความต้องการของผู้รับบริการหรือบริการเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ผู้รับบริการประทับใจยิ่งขึ้น
|
ทั้งนี้ การสร้างแผนผังคุณค่า (Value Map) อย่างละเอียดจะสามารถออกแบบสินค้าหรือบริการที่มีรายละเอียดการแก้ไขปัญหาหรือสร้างคุณค่าที่ตอบโจทย์และเชื่อมโยงกับความต้องการ ปัญหา และความคาดหวังของผู้รับบริการได้ อาจเริ่มต้นจากการระดมความคิดให้ได้มากที่สุด (Idea Creation) และพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ อย่างละเอียด (Idea Selection) ให้สอดคล้องกับแผนผังคุณค่าของบริการ |
ดร. ชนะกัญจน์ ได้ยกตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ที่พัฒนาบริการดิจิทัลภาครัฐที่หลากหลายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เริ่มต้นจาก SingPass เป็นระบบ Digital ID สำหรับประชาชน ใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อใช้บริการภาครัฐของสิงคโปร์ได้อย่างสะดวก แพลตฟอร์ม Health Hub ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลสุขภาพของชาวสิงคโปร์ ระบบการยื่นภาษีออนไลน์ หรือ Inland Revenue and Authority of Singapore (IRAS) Service ที่ยื่นภาษีได้ภายในเวลาประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น และบริการ Life SG ที่แสดงข้อมูลสิทธิประโยชน์และสวัสดิการสำหรับประชาชนชาวสิงคโปร์เป็นรายบุคคล นอกจากรัฐบาลสิงคโปร์แล้ว รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ยังได้ปรับปรุงเว็บไซต์ Pension Benefit Guaranty ให้ประชาชนสามารถค้นหาและทำความเข้าใจข้อมูลสิทธิประโยชน์หลังเกษียณได้ง่ายขึ้น |
สำหรับผู้ที่สนใจ Upskill-Reskill ด้านทักษะดิจิทัล ทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือประชาชนทั่วไป
|