สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO) รุ่นที่ 31 สัปดาห์ที่ 19 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก คุณอุสรา วิสารทานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาและบริหารโครงการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ คุณธีรวุฒิ ธงภักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บรรยายภายใต้ หัวข้อ “Digital Infrastructure and Networking” |
โดยภาพรวมการอบรมในครั้งนี้ ผู้อบรมจะได้ทราบถึงข้อมูล Digital Infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ที่เป็นระบบและทรัพยากรทางเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนการทำงานของเศรษฐกิจดิจิทัลและบริการทางออนไลน์ ทำหน้าที่จัดเก็บ ประมวลผล และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลครอบคลุมองค์ประกอบที่หลากหลายทั้งศูนย์ข้อมูล เครือข่ายสื่อสารไร้สาย ระบบคลาวด์ (Cloud Computing) ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีการเชื่อมต่อของสรรพสิ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IoTs) รวมถึงการยกกรณีของการพัฒนาบริการต่างๆ ของ DGA และ สดช. ที่ช่วยในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลและสนับสนุนบริการให้กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริการหรือเครื่องมือของหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้นไป |
Data Center หรือศูนย์ข้อมูล เป็นสถานที่ทางกายภาพที่ออกแบบเพื่อรองรับเครื่องแม่ข่าย (Server) ขนาดใหญ่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลของผู้ประกอบการระดับโลก โดยมีมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลคือ ปริมาณสำรองไฟฟ้าของไทยที่สูงมากกว่าร้อยละ 30 |
ในส่วนของคลาวด์ (Cloud Computing) ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในยุคปัจจุบัน ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์โดยหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง สามารถเพิ่มหรือลดทรัพยากรได้ตามต้องการ เข้าถึงได้จาก ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยรัฐบาลปัจจุบันต้องการขับเคลื่อนนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก ด้วยการบริหารจัดการความต้องการใช้คลาวด์ การจัดหาบริการคลาวด์อย่างเพียงพอต่อความต้องการผ่าน GDCC และการกำหนดมาตรฐานผู้ให้บริการคลาวด์ภาคเอกชนที่สามารถให้บริการแก่หน่วยงานของรัฐ เช่น ISO/IEC 20000-1 CSA STAR |
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570) มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI และการใช้ AI อย่างเป็นระบบและช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและเป็นที่สนใจของสังคม ในวงกว้าง คือ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) รวมทั้งการที่ประชาชนถูกมิจฉาชีพหลอกลวงจนสูญเงินไปจำนวนมหาศาล ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการป้องกันเหยื่อของมิจฉาชีพ ด้วยการเปิดโอกาสให้เหยื่อโทรแจ้งธนาคารเพื่อระงับธุรกรรมเป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง และเมื่อแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสำเร็จ ธนาคารจะระงับธุรกรรม 7 วัน เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย |
ประเด็นสำคัญที่สุด แม้ว่า เราจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ดีและทั่วถึง แต่องค์ประกอบสำคัญ คือ ข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) ที่ดีในทุกขั้นตอนเพื่อให้ข้อมูลมีคุณลักษณะที่ดีอย่างน้อย 3 ประการ คือ |
สำหรับผู้ที่สนใจ Upskill-Reskill ด้านทักษะดิจิทัล ทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือประชาชนทั่วไป
|