DG Learning Portal
1. กรุณาคลิกลงทะเบียนที่ Digital ID
(หรือหากมีบัญชี Digital ID แล้วสามารถเข้าสู่ระบบได้ทันที)
2.ยืนยันอีเมล
(ท่านที่เป็นสมาชิกเดิมให้ใช้อีเมลเดิมในการยืนยัน)
คลิกเพื่อไปยัง Digital ID



 

สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA by DGA) จัดอบรมหลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล รุ่นที่ 5 (DTP#5) จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12 – 18 พฤษภาคม 2567 และ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนจากการศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่ม 1 : ผู้อบรมได้ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงานและความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานแต่ละหน่วยงานที่ศึกษาดูงาน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดเป็นประเทศอันดับ 43 ในการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จาก 193 ประเทศ จากการจัดอันดับของ UN e-Government Survey 2022

การศึกษาดูงานในหลักสูตร DTP รุ่นที่ 5 นี้ได้ศึกษาดูงาน ณ นครกวางโจว และ นครเซินเจิ้น โดยถือเป็นมหานครสำคัญทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้เยี่ยมชมหน่วยงานด้านดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ Guangzhou City Information Service Center (Guangzhou), บริษัท Baidu Apollo (Guangzhou), บริษัท Wayes Furniture (Weishang Furniture) (Guangzhou), บริษัท Dongfang Precision, Foshan (Guangzhou), Shenzhen Smart City Group (Shenzhen), Futian Digital Transformation (Shenzhen), และบริษัท Tencent Headquarters (Shenzhen)

ซึ่งได้เรียนรู้การพัฒนา Smart City และการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI, Robotic, IoT มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และการยกระดับการให้บริการประชาชนในทุกๆ ด้าน


ซึ่งได้เรียนรู้การพัฒนา Smart City และการพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น AI, Robotic, IoT มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และการยกระดับการให้บริการประชาชนในทุกๆ ด้าน

กลุ่ม 2: วิเคราะห์เปรียบเทียบสถานภาพ/ประเด็นสำคัญการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้

  • ด้าน Strategy & Planning : ไทย - จีน มียุทธศาสตร์ และเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิด e-Gov ตอบสนองความต้องการของประชาชน ความมั่นคง และเศรษฐกิจ
  • ด้าน โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล : ไทยและจีนต่างส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเพื่อตอบสนองต่อประเด็นภัยคุกคามทางไซเบอร์
  • ด้าน Data Management : ไทยและจีน ต่างก็มีเป้าหมาย ในการยกระดับการบริหารงานและการให้บริการให้อยู่ในระบบดิจิทัล โดยที่จีนมีข้อจากัดน้อยกว่าและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
  • ด้าน การให้บริการ & มีส่วนร่วมของประชาชน



กลุ่ม 3: ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key success factor) ในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน และข้อเสนอแนะในการนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย

Key success: การนำ Advance Technology มาใช้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่นำมา Implement หรือ additional ในส่วนต่างๆ ภายในองค์กร และที่สำคัญ คือเรื่องของข้อมูล (Data) เป็นหนึ่งอย่างที่ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีและพร้อมที่จะต่อยอดในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ได้ทันที ข้อเสนอแนะในการนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

  • ด้านยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัวและขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น
  • ด้านการพัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่าย
  • ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจ
  • ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ


ซึ่งจากการศึกษาดูงานและการถอดบทเรียนได้เรียนรู้จากความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้นำด้านรัฐบาลดิจิทัลของโลก ทำให้ได้รู้ถึงเครื่องมือ วิธีการ และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยขับเคลื่อนสายงานด้านต่างๆ เช่น การผลิต การวางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถตอบโจทย์และช่วยอำนวยความสะดวกต่อประชาชนในสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อย่างแท้จริง โดยผู้เข้าอบรมสามารถนำองค์ความรู้กลับมาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยต่อไป


 

สำหรับผู้ที่สนใจ Upskill-Reskill ด้านทักษะดิจิทัล ทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าไปเยี่ยมชม และค้นหาหลักสูตรที่สนใจทั้งแบบ Onsite และ Online ได้ที่เว็บไซต์ สถาบัน TDGA ดูข้อมูลหลักสูตรอื่นๆ ได้ที่นี่! หรือ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook สถาบัน TDGA



  


    

    

  
TDGA - หลักสูตรการสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่รัฐบาลดิจิทัล รุ่นที่ 5 จัดกิจกรรมเสวนาถอดบทเรียนในการศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน